Leg Length Discrepancy/ Leg Length Difference
Dong Hoon Lee
ขาลอย
ขาลอยคือลักษณะของขาทั้งสองข้างมีความยาวไม่เท่ากัน
สำหรับผุ้ที่มีความยาวของขาไม่เท่ากันหากอยู่ในท่าที่ยืนเอียงกระดูกเชิงกรานหรืองอเข่าขึ้นข้างหนึ่งจะรู้สึกสบายยิ่งขึ้น กรณีที่รุนแรง อาจทำให้เดินกะเผลก, เนื่องจากกระดูกเชิงกราน เอียงการพยายามงอกระดูกสัน หลังด้วยตนเองเพื่อยืดตัวให้ตรงจึงทำให้’กระดูกสันหลังคด’ และต้องคำนึงถึงโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อต่อได้รับภาระหนักเป็นเวลานานเช่นโรคเกี่ยวกับเอว,ข้อต่อกระดูกสะโพกและข้อเข่าอักเสบ
การแก้ไขขาลอยหรือความผิดปกติของข้อเท้าพร้อมกัน
การแก้ไขขาลอยด้วยการยืดกระดูกน่องด้วย PRECICE
การแก้ไขขาลอยด้วยการยืดกระดูกน่อง(LON)
กรณีขาลอย เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเอียงการพยายามงอกระดูกสันหลังด้วยตนเองเพื่อยืดตัวให้ตรง จึงทำให้’กระดูกสันหลังคด’
คำถามที่พบบ่อย
เกณฑ์มาตรฐานการวินิจฉัยโรคขาลอยคืออะไร ?
ในจำนวนของผู้ที่เข้ามารับการรักษาด้วยโรคขาลอย คนที่ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวความยาวของขาจริงก็มีเยอะ
ตามความเป็นจริงแล้วร่างกายทั้งด้านซ้ายและขวาของเราไม่ได้มีความเท่ากันเป๊ะอยู่แล้ว
ความยาวแขนซ้ายขวาต่างกัน, ความโตของดวงตาก็แตกต่างกัน
เป็นที่ทราบกันดีในทางการแพทย์ว่าควรเข้ารับการรักษาต่อเมื่อมีความแตกต่างกัน2-2.5เซนติ เมตรขึ้นไป
ถึงอย่างไรก็ตามถึงจะมีความแตกต่างที่ต่ำกว่า2 เซนติเมตร บางท่านก็มีความรู้สึกไวและอึดอัดต่อความ แตกต่างของความยาว ดังนั้นการตัดสินใจโดยการปรับให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ทำตามกรอบของตำรา
และมีบางท่านที่มาหาหมอเพราะความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแตกต่างของความยาว การรักษาขาลอยเริ่มจากการประเมินความแตกต่างความยาวของขาที่แม่นยำ
สาเหตุการเกิดโรคขาลอยคืออะไร
มีหลายครั้งที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
กรณที่พบมากที่สุดคือ การที่ขาข้างใดข้างหนึ่งยาวขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือที่เรียกว่า ลักษณะของลำตัวซีกใดซีกหนึ่งใหญ่หรือยาวกว่าอีกซีกหนึ่ง (idiopathic hemihypertrophy) นั่นเอง
ในกรณีดังกล่าว ปกติได้รับการวินิจฉัยมาตั้งแต่สมัยเด็ก
แต่เมื่อเติบโตขึ้นความยาวที่แตกต่างกันก็เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น
และกรณีที่ขาข้างหนึ่งเคยหักหรือได้รับการผ่าตัดในวัยเด็กเมื่อเวลาผ่านไปขาข้างนั้นก็
มีแนวโน้มที่จะยาวขึ้นได้เช่นกัน
โรคขาลอยยังมีสาเหตุมาจาก หัวกระดูกต้นขา (femoral head) เจริญเติบโตผิดปกติ เนื่องจากผลกระทบ ของโรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือด LCP 병, Legg Calve Perthes disease)โดยไมทราบสาเหตุ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็ก
นอกจากนี้ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น แขนขาพิการตั้งแต่กำเนิด(congenital limb deficiency), หรือ การที่มีหน้าแข้งสั้นมาแต่กำเนิด(congenital pseudoarthrosis tibia)และความผิดปกติแต่กำเนิดอื่นๆก็ เป็น สาเหตุที่ทำให้ขายาวไม่เท่ากัน
โรคขาลอยมีวิธีรักษาอย่างไร ?
วิธีการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือวิธีที่ปรับขาด้านที่สั้นกว่าให้เท่ากับข้างที่ยาว หรืออีกวิธีคือปรับขาด้านที่ยาวกว่าให้เท่ากับขาที่สั้นกว่า
วิธีที่ปรับขาด้านที่สั้นให้ยาวขึ้นคือใช้แผ่นรองพื้นเพิ่มความสูงในรองเท้าหรือ’ผ่าตัดเพื่อทำการยืดกระดูก ให้ยาว(การผ่าตัดยืดกระดูกแขนและขา)’
ส่วนวิธีปรับขาด้านที่ยาวให้สั้นลง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้กับเด็กที่แผ่นเจริญเติบโตของกระดูกยังทำงานอยู่ โดยจะปรับความยาวโดยการชะลอความเร็วของการเจริญเติบโตให้ช้าลงชั่วคราว สำหรับผู้ใหญ่นั้น สามารถผ่าตัดกระดูกที่ยาวให้สั้นลงได้
การผ่าตัดรักษาโรคขาลอยด้วยการยืดกระดูกต้นขาด้านที่สั้นกว่า
การผ่าตัดรักษาโรคขาลอยด้วยการยืดกระดูกหน้าน่องที่สั้นกว่าโดยวิธี LON
การผ่าตัดรักษาโรคขาลอยด้วยการยืดกระดูกต้นขาด้านที่สั้นกว่าด้วย PRECICE
การรักษาโดยการยืดกระดูกน่องด้านที่สั้นกว่าด้วย PRECICE พร้อมๆกับแก้ไขกระดูกหมุนผิดรูปและ แก้อาการขารูปตัวเอ็กซ์
การผ่าตัดยืดกระดูกน่องด้านที่สั้น พร้อมกับแก้ไขขารูปตัวเอ็กซ์และข้อขาที่โค้งงอผิดรูป
การรักษาโรคขาลอยและขาผิดรูปพรัอมกันหลังได้รับบาดเจ็บ
การรักษาโรคขาลอยและขารูปตัวเอ็กซ์ด้วยสกรูแผ่นการเจริญเติบโตของกระดูก(การผ่าตัดต่อติด แผ่นการเจริญของกระดูก)
การรักษาโรคขาลอยด้วยสกรูแผ่นการเจริญเติบโต(การผ่าตัดต่อแผ่นการเจริญของกระดูก)
สิ่งสำคัญในการรักษาโรคขาลอยคืออะไร ?
หากอ้างอิงตามตำราการแพทย์ ถ้าความแตกต่างระหว่างขาสองข้างต่ำกว่า 2∼2.5 เซนติเมตร ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ถ้ามากกว่านั้นจะเริ่มต้นจากการใช้แผ่นเพิ่มความสูงในรองเท้าก่อน และกรณีที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้นแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด
แต่ในสถานการณ์การผ่าตัดจริงจะต้องผ่านขั้นตอนการตัดสินใจที่ซับซ้อนกว่ามาก
เนื่องจากความแตกต่างของขาสองข้างระหว่างผลที่ได้จากการเอกซเรย์กับความรู้สึกของคนไข้อาจมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบที่แม่นยำ
กล่าวคือ จะรักษาโดยการดูผลเอกซเรย์เพียงอย่างเดียวไม่ได้
นอกจากนี้แล้วจำเป็นต้องพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยก่อนตัดสินใจว่าจะรักษาโดยวิธีปรับความสูงของส้นรองเท้าหรือจะยืดกระดูกขาที่สั้นโดยการผ่าตัดยืดกระดูก(ผ่าตัดยืดกระดูกแขนและขา) หรือลดความยาวขาข้างที่ยาวกว่า
สำหรับโรคขาลอยนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาแบบ “ปรับให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคล” โดย แพทย์และคนไข้จะปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
การรักษาขาลอย + ขาโก่ง(รูปตัวโอ)พร้อมกัน
การรักษาขาลอยด้วยวิธียืดกระดูกน่องแบบ LON
การผ่าตัดแก้ไขความไม่สมส่วนแต่กำเนิด – ขาลอย – ยืดกระดูกหน้าแข้ง (วิธียึดตรึงจากภายนอก)
การผ่าตัดรักษาโรคขาลอยที่เกิดจากภาวะที่หายากทำให้ขาสั้นตั้งแต่กำเนิดด้วยการยืดกระดูกแบบ LON
การรักษาโรคขาลอยโดยวิธียืดกระดูกต้นขาแบบ LON
골절 후 발생한 하지부동 및 고관절 변형을 허벅지 연장 및 교정 절골술로 동시에 치료
การแก้ไขกระดูกที่มีลักษณะเข่าแอ่น หรือขารูปตัวเอ็กซ์ที่มาพร้อมกับโรคขาลอย
การรักษาโรคขาลอยและขารูปตัวเอ็กซ์ด้วยวิธียืดกระดูกน่องพร้อมกับการแก้ไขกระดูกผิดรูปพร้อมกัน
ขาลอยที่เกิดจากแนวกระดูกข้อต่อหัวเข่าผิดรูป
การรักษาโรคขาลอยพร้อมขารูปตัวเอ็กซ์
วิธีการผ่าตัดโรคขาลอยใหม่
จากเดิมที่เคยผ่าตัดยืดกระดูกโดยวิธีใช้อุปกรณ์ยึดตรึงจากภายนอก ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างลำบาก แต่ปัจจุบันหันมาใช้วิธียึดตรึงในกระดูกโดยใช้แค่อุปกรณ์ ยึดตรึงภายในก็สามารถยืดกระดูกได้ ลดภาวะแทรกซ้อนและอาการเจ็บปวดได้มาก
ส่วนวิธีรักษาโรคขาลอยนั้นอยู่ในกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดยืดกระดูก(ยืดกระดูกแขนและขา)ที่รู้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเยอะขั้นตอนการรักษายากที่ พัฒนาอย่ารวดเร็ว
การผ่าตัดยืดกระดูกภายในด้วย PRECICE ถูกประเมินว่าเป็นการเปลี่ยนขอบข่ายการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดโดย’วิธีการของเกมส์’ซึ่งเป็นวิธีที่เปรียบเสมือนความหวัง ใหม่ของวงการผ่าตัดยืดกระดูก เนื่องจากสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยการใช้อุปกรณ์แบบเดิม Lilzarov ตรึงจากภายนอก
โรงพยาบาลศัลยกรรมกระดูกลีดงฮูนถือเป็นผู้นำในการผ่าตัดรักษาโรคขาลอยระดับโลก
การรักษาขายาวไม่เท่ากัน (ขาลอย)โดยใช้ PRECICE
การรักษาโรคขาลอยในเด็ก
การรักษาขายาวไม่เท่ากัน(ขาลอย)ในวัยเด็กโดยใช้สกรูแผ่นการเจริญเติบโต
การรักษาโรคขาลอยในเด็กมีความซับซ้อนกว่าผู้ใหญ่มาก
กล่าวคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าความแตกต่างของความยาวขาในปัจจุบันจะคงอยู่จนกระ ทั่งสิ้นสุดการเจริญเติบโต เพราะตามความจริงแล้วส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการรักษา โดยต้องคาดการณ์ถึงความแตกต่างงของความยาวในอนาคตจึงเป็นเรื่องยากที่สุด
การรักษาโรคขาลอยในเด็กด้วย แผ่นโลหะ 8-plate
การรักษาลำตัวด้านข้างไม่เท่ากัน – ขาลอย – ขารูปตัวเอ็กซ์ด้วยสกรูแผ่นการเจริญเติบโต
การรักษาโรคชาลอยในเด็กโดยการยืดกระดูกแบบยึดตรึงภายนอก
แก้ปัญหาความไม่เท่ากันของลำดัวด้านข้าง– โรคขาลอยด้วยการผ่าตัดยืดกระดูก
คลิปวีดีโอสัมภาษณ์เกี่ยวกับการผ่าตัดแก้ขาลอย
Interview 1
Interview 2