Recurrent (Chronic, Habitual, Congenital) Patella Dislocation
Dong Hoon Lee
สะบ้าเคลื่อนคือ
สะบ้าเคลื่อนคือการที่กระดูกเคลื่อนที่(dislocation)ออกไปจากตำแหน่งปกติ
ไม่ได้เป็นแค่ครั้งเดียวแล้วหายไปแต่ เคลื่อนเป็นครั้งที่สอง คือ “สะบ้าเคลื่อนซ้ำ(recurrent patella dislocation)”, เคลื่อนบ่อยครั้งจนชินคือ “สะบ้าเคลื่อนแบบเคยชิน (habitual patella dislocation)”, เคลื่อนแบบเรื้อรังคือ“สะบ้าเคลื่อนเรื้อรัง chronic patella dislocation”, เคลื่อนตั้งแต่เกิดคือ“สะบ้าเคลื่อนแต่กำเนิด(congenital patella dislocation)”
ในวงการศัลยกรรมกระดูกการรักษาสะบ้าเคลื่อนนับเป็นหนึ่งในโรคที่รักษายากและซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผู้ที่เป็นมาแต่กำเนิดและเรื้อรังจะรุนแรงมีโอกาสกำเริบสูงและรักษายากกว่าสะบ้าเคลื่อนที่เกิดจากการบาดเจ็บ และมีอีกหลายสาเหตุที่เกี่ยวพันกันอย่างสลับซับซ้อน ดังนั้นกรณีมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวนี้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีถึงจะผ่าตัดแล้วก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมากำเริบซ้ำอีก
โรงพยาบาลศัลยกรรมกระดูกลีดงฮุน
สามารถวิเคราะห์และให้การรักษาได้อย่างแม่นยำกับปัจจัยเสี่ยงของอาการสะบ้าเคลื่อน(ความเคยชิน, เรื้อรัง,แต่กำเนิด)กำเริบซ้ำ
กระดูกสะบ้าคือ
ข้อต่อหัวเข่าประกอบด้วยข้อต่อสองชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ กระดูกต้นขา- กระดูกหน้าแข้ง(ลูกศรสีแดง) และกระดูกต้นขา- กระดูกสะบ้า(ลูกศรสีเหลือง) ซึ่งกระดูกต้นขา(กระดูกโคนขา) เป็นข้อต่อกันกับ กระดูกหน้าแข้ง(กระดูกน่อง)
ต้นขา- ข้อต่อกระดูกสะบ้า กระดูกต้นขา(ลูกศรสีแดง) มีกระดูกสะบ้าอยู่ด้านบนต่อกัน (ลูกศรสีเหลือง) การต่อกันของข้อต่อคล้ายลักษณะของเครื่องบินลงจอดบนรันเวย์ ดังที่เห็น เพราะ ลักษณะของข้อต่อ ต้นขา-สะบ้า ไม่มั่นคงอย่างมาก จึงอาจทำให้หลุดออกมาได้ง่าย
ดูจากรูปนี้จะเห็นได้ว่ากระดูกสะบ้าขาด้านซ้ายอยู่ในตำแหน่งปกติ (ลูกศรสีเหลือง), ส่วนกระดูกด้านขวานั้นเคลื่อนออกมานอกตำแหน่งอย่างมาก(ลูกศรสีแดง)
ซึ่งสิ่งนี้เองที่เรียกว่า’กระดูกสะบ้าเคลื่อน(patella dislocation)’ กระดูกสะบ้ามีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้กล้ามเนื้อ(Quadriceps muscle)ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือหากมีการเคลื่อนที่ของดูกสะบ้าไม่ใช่แค่เพียงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการเดินหรือวิ่งและที่สำคัญหากปล่อยไว้ในระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดข้อต่ออักเสบได้ด้วย
ปัญหาใหญ่ที่สุดของสะบ้าเคลื่อนคือ สาเหตุต่างๆมากมายที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงนี้หากสาเหตุมีเพียงแค่หนึ่งหรือสอง ก็ยังสามารถรักษาได้แต่เนื่องจากมีหลากหลายสาเหตุซึ่งแต่ละสาเหตุแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกรณี ดังที่กล่าว ดังนั้นหากไม่’รักษาให้เหมาะสม’ตามแต่ละบุคคลแล้ว ยากที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดี
กระดูกสะบ้าเคลื่อน–เคลื่อนเพียงแค่ครั้งเดียวจำเป็นต้องรับการผ่าตัดหรือไม่?
เป็นที่ทราบกันดีว่า อัตราส่วนการเป็นสะบ้าเคลื่อนของประชากรในจำนวน 100,000 คน จะมีประมาณ 6 คนที่สะบ้าเคลื่อน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควร คนไข้ที่มารับการรักษาสะบ้าเคลื่อนที่โรงพยาบาลศัลยกรรมกระดูกลีดงฮุนนั้น ส่วนใหญ่เป็นสะบ้าเคลื่อนแบบความเคยชิน และสะบ้าเคลื่อนแต่กำเนิดที่มีอาการรุนแรงที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่สำหรับผู้ที่ตั้งแต่เกิดมาพึ่งมีอาการกระดูกเคลื่อนครั้งแรกนั้นจะต้องทำอย่างไร?
สรุปก็คือ ‘มีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล’
เมื่อสะบ้าหลุด ไม่ใช่แค่หลุดเฉยๆ แต่จะหลุดข้ามไปที่กระดูกต้นขาคล้ายกับการข้ามกำแพงเมื่อถึงตอนนี้กระดูกสะบ้าจะได้รับแรงกระแทกอย่างแรง ดังนั้นหากสะบ้าหลุดโอกาสที่กระดูกอ่อนจะได้รับความเสียหาย มีสูงถึง 25-60%
จากสถิติการรักษาสะบ้าหลุดที่เป็นการหลุดครั้งแรกโดยวิธีการอนุรักษ์ (conservative treatment) โดยไม่ผ่าตัด มีโอกาสที่อาการจะกำเริบได้อีกถึง 30-70% แต่จะยอมรับและปฎิบัติตามสถิติเลยไม่ได้ หมายถึง จะวินิจฉัยเองไม่ได้ว่าคนไข้ที่สะบ้าหลุดเป็นครั้งแรกทุกคนต้องรักษาด้วยวิธีการใส่เฝือก(อุปกรณ์ช่วย)หรือ อัตราการกำเริบมีสูงต้องผ่าตัดทุกคน
จากสถิติการรักษาสะบ้าหลุดที่เป็นการหลุดครั้งแรกโดยวิธีการอนุรักษ์ (conservative treatment) โดยไม่ผ่าตัด มีโอกาสที่อาการจะกำเริบได้อีกถึง 30-70% แต่จะยอมรับและปฎิบัติตามสถิติเลยไม่ได้ หมายถึง จะวินิจฉัยเองไม่ได้ว่าคนไข้ที่สะบ้าหลุดเป็นครั้งแรกทุกคนต้องรักษาด้วยวิธีการใส่เฝือก(อุปกรณ์ช่วย)หรือ อัตราการกำเริบมีสูงต้องผ่าตัดทุกคน
การรักษากระดูกสะบ้าเคลื่อนของโรงพยาบาลศัลยกรรมกระดูกลีดงฮุน
ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาสะบ้าเคลื่อนแบบเป็นแต่กำเนิดรักษายาก,เรื้อรัง,และแบบเคยชินแต่ อัตราอาการกำเริบต่ำมาก ที่ผลการรักษาของเราประสบความสำเร็จเพราะการรักษาต้นตอของอาการ กระดูกสะบ้าเคลื่อนนั้นเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือถึงแม้ว่าสะบ้าจะหลุดเป็นครั้งแรก หากสามารถวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงได้อย่างถูกต้องสามารถคาดการณ์การเกิดซ้ำในอนาคตได้
กระดูกสะบ้าเคลื่อน – หากกระดูกได้รับความเสียหายต้องทำอย่างไร?
เมื่อสะบ้าหลุด จะหลุดข้ามกระดูกต้นขาออกไปที่ผนังด้านนอกและในระหว่างนี้กระดูกสะบ้าและกระดูกต้นขาจะถูกกดทับซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง จนอาจทำให้กระดูกอ่อนได้รับความเสียหายได้
กรณีร้ายแรงก็เยอะเช่นกระดูกสะบ้าหลุดออกไปพร้อมกระดูกอ่อนข้อต่อ ในกรณีนี้ถึงจะเป็นการเคลื่อนครั้งแรกก็ตาม จำเป็นมากที่จะต้องผ่าตัดรักษากระดูกอ่อนที่ได้รับความเสียหาย
ดูจากรูปด้านล่างแล้วลองสังเกต (ลูกศร)ขณะที่กระดูก สะบ้าหลุดจะมีกระดูกอ่อนหล่นลงมาจากกระดูกสะบ้า
เมื่อมองเข้าไปในหัวเข่าจริงด้วยการส่องกล้องสังเกตดูจะเห็นส่วนที่กระดูกสะบ้า (ลูกศรสีแดง) หลุดออกไปและจะมีกระดูกอ่อนข้อต่อที่ร่วงออกมา
ในกรณีนี้วิธีการรักษาโดยการนำกระดูกที่หลุดออกมา กลับไปยึดติดเข้าที่เดิมนับเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดทางทฤษฎี แต่ปัญหาคือไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าโรงพยาบาลศัลยกรรมกระดูกลีดงฮุน รักษาด้วยการใช้กระดูกของตัวคนไข้เอง
ดูจากรูปจะเห็นได้ว่าบริเวณ(ซ้าย) ที่กระดูกอ่อนร่วงออกไปก่อนผ่าตัด และ หายเป็นปกติหลังจากรับการผ่าตัด6เดือน (ขวา)
ดังนั้นหากกระดูกอ่อนได้รับความเสียหายเนื่องจากกระดูกสะบ้าเคลื่อนจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและที่สำคัญถ้าเป็นไปได้ต้องทำให้คืนกลับไปเหมือนเดิมได้
หากอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อนกำเริบซ้ำต้องรับการรักษาด้วยวิธีไหน?
หากกระดูกหลุดซ้ำบ่อยๆ ต้องมีสาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น อาจเกิดจากการจัดกระดูกมีปัญหาและ อาจเกิดจากเนื้อเยื่ออ่อนเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีปัญหาก็ได้
มีหลากหลายสาเหตุที่ก่อให้เกิดการ’เคลื่อนกำเริบซ้ำ’ต้องรู้ว่าในจำนวนหลากหลายสาเหตุนั้นสาเหตุไหนที่มีผลต่อการกำเริบซ้ำมากที่สุดและ ต้องทำการรักษาเกี่ยวกับสาเหตุดังกล่าวอย่างกระตือรือร้น หากไม่ตรวจสอบส่วนประกอบเหล่านี้ระหว่างรักษา หรือ ตรวจสอบแล้วแต่รักษาให้เสร็จสิ้นแบบลวกลวก การกระทำเช่นนี้จะทำให้อัตราการกำเริบซ้ำสูง
หลักการของการรักษาสะบ้าเคลื่อนซ้ำคือไม่ใช่การ’ทำตามความสะดวกเดี๋ยวนั้น’ ต้องรักษาด้วยการตรวจสอบปัจจัยความเสี่ยงให้ถี่ถ้วนอย่างกระตือรือร้น ลดอัตราอาการกำเริบซ้ำในระยะยาวให้ได้
ตัวอย่างการรักษาอาการเรื้อรังของสะบ้าเคลื่อนที่เกิดจากความเคยชิน
เป็นเด็กอายุ 5 ขวบที่มีอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อนตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งถ้าจะพูดกันอย่างจริงจังก็คือไม่ใช่กระดูกสะบ้าเคลื่อนซ้ำแต่มันคืออาการเรื้อรังของกระดูกสะบ้า เนื่องจากกระดูกสะบ้าอยู่ในสภาพหลุดออกตลอดเวลาส่งผลให้ไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ดูจากรูปจะเห็นได้ว่ากระดูกสะบ้าหลุดออกมาด้านนอกอย่างมาก(ลูกศรสีแดง) เมื่อเปรียบเทียบกับกระดูกสะบ้าปกติ(ลูกศรสีเหลือง)
ซึ่งอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อน’เรื้อรัง’นั้น นับเป็นหนึ่งในอาการที่วิธีการรักษาค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน ซึ่งในเด็กก็มีหลายปัจจัยเสี่ยงทีก่อให้เกิดกระดูกสะบ้าหลุดง่าย
ดังนั้นเพราะการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดพร้อมกันทีเดียว4ชนิดรวมกับการผ่าตัดแก้ไขด้วย ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาดีและที่สำคัญกว่าอื่นใดคือเราได้ทำการรักษาที่ต้นตอ(ทำลายปัจจัยเสี่ยง)เพื่อลดอัตราการกำเริบซ้ำระยะยาว
ในรูปจะเห็นได้ว่ากระดูกสะบ้าอยู่ที่ตำแหน่งเดิม ต้องรักษาเช่นนี้ถึงจะสามารถลดการกำเริบซ้ำในระยะยาวได้
ตัวอย่างกระดูกสะบ้าเคลื่อนซ้ำหลังจากออกกำลังกาย
เป็นผู้ชายอายุ 16ปี เมื่อ 5 ปีก่อนเขาเล่นบาสเกตบอลแล้วมีอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ด้านขวา และตอนนั้นเขาได้รับการใส่เฝือกจากโรงพยาบาล แต่ว่าหลังจากนั้นหนึ่งปีก็ยังมีอาการเกิดขึ้นอยู่บ้างครั้งถึงสองครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการรักษาอื่นเพิ่มเติมแต่อย่างใด
รูปเอ็กซเรย์ด้านล่างแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันแม้ผู้ป่วยจะบอกว่าไม่มีอาการใดๆ แต่กระดูกสะบ้าด้านขวานั้น(ลูกศรสีแดง) อยู่ในลักษณะที่หลุดไปเกือบครึ่งเลยทีเดียว ส่วนหัวเข่าด้านซ้าย(ลูกศรสีเหลือง) ที่ผู้ป่วยบอกว่าไม่เคยมีอาการเคลื่อน กลับมพบว่าอยู่ในสภาพข้อต่อหลุด(subluxation) เกือบเหมือนด้านขวา
ในกรณีนี้มีเหตุผลที่กระดูกสะบ้าไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรเป็น จากการตรวจสอบพบว่ากระดูกสะบ้านั้นอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคงและสงสัยว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้หลุดง่าย
เมื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงอย่างละเอียดเสร็จแล้วรักษาต้นตอดังกล่าว โดยการผ่าตัดแก้ไขกระดูก(corrective osteotomy)กระดูกหน้าแข้ง(กระดูกน่อง)ไปพร้อมกับอื่นๆอีกรวม4 ชนิด
ผลจากที่ดูจากกล้องส่องในระหว่างผ่าตัดจะเห็นว่าก่อนผ่าตัดกระดูกสะบ้าอยู่ในสภาพที่เอียงมากแต่หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วกระดูกกลับเข้าไปอยู่ที่ตำแหน่งเดิมได้ดี
สาเหตุของกระดูกสะบ้าเคลื่อนมีความซับซ้อน ดังนั้นควรคิดว่าการรักษาก็ต้องทำแบบซับซ้อนเช่นกัน วิเคราะห์สาเหตุต่างๆให้ดีแล้วเเลือกวิธีการรักษาแบบผสมผสานเหมือนค็อกเทลให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์นั้นๆ
ผ่าตัดแก้ไขกระดูกสะบ้าเคลื่อนซ้ำหลังจากผ่าตัดล้มเหลวมาแล้ว2ครั้ง
ดูตัวอย่างผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 15 ปีที่เข้ารับการรักษากระดูกสะบ้าเคลื่อนกำเริบซ้ำเพื่อแสดงให้เห็นว่าในการรักษาผู้ป่วยสำคัญอย่างไร
ผู้ป่วยมีอาการกระดูกเคลื่อนบ่อยเลยไปรับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หลังการผ่าตัดก็ยังมีอาการอยู่ ถึงแม้จะผ่าตัดแก้ไขแล้วก็ตาม จนในที่สุดก็ได้มารับการรักษากับเรา
ตอนที่มาหาเราผู้ป่วยมีอาการปวดที่หัวเข่ามากจนแทบจะเดินไม่ได้และงอเข่าก็ไม่ได้ หากดูที่รูปเอ็กซเรย์แค่ผ่านๆอาจเห็นว่าขาเรียงเป็นปกติ แต่จริงๆแล้วมีกระดูกที่ผิดปกติถึงสามชนิดที่ทำให้กระดูกสะบ้าเคลื่อนที่ออกไปได้ง่ายซ่อนอยู่ กล่าวคือมีความลับที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไม่ให้คนไข้คนนี้กลับไปมีอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อนซ้ำอีกซ่อนอยู่ในความผิดปกติของกระดูก เพื่อตรวจสอบความแม่นยำจึงได้ทำการตรวจหลายๆอย่าง
การผ่าตัดเริ่มที่หัวเข่าด้านซ้าย ในขาข้างหนี่งต้องผ่าตัดถึง 6 ชนิด เหตุที่จำเป็นต้องผ่าตัดมากขนาดนี้ก็เพียงเพื่อ ‘ลดความเสี่ยงของอาการกำเริบที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง’ นั่นเอง หลังจากการผ่าตัดจะเห็นได้ว่ากระดูกสะบ้าหัวเข่าด้านซ้ายอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคง (ลูกศรสีเหลือง), ส่วนด้านขวา (ลูกศรสีแดง)อยู่ในสภาพที่ยังหลุดอยู่เช่นเดิม
หลังจากที่เข่าด้านซ้ายหายเป็นปกติดีแล้ว ก็กลับมาดำเนินการรักษาด้านขวาต่อ จะเห็นได้ว่ากระดูกสะบ้ากลับเข้าไปอยู่สู่สภาพเดิมได้เป็นอย่างดี และเดี๋ยวนี้อยู่อย่างสบายดีโดยไม่มีอาการกำเริบเกิดขึ้นอีก
อย่างที่เห็นในตัวอย่างนี้ หากปัจจัยเสี่ยงไม่ได้รับการรักษาการเคลื่อนก็จะเกิดขึ้นซ้ำๆแต่ หากรักษาสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนเพื่อไม่เกิดการกำเริบซ้ำอีกโอกาสที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีสูงมาก
สะบ้าเคลื่อนกำเริบซ้ำเนื่องจากการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขแต่ขาเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 45ปี ท่านนี้มาหาเราเนื่องจากมีอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อนเป็นบางครั้งและขาโก่งมาก จากที่ได้สำรวจดูขาอย่างละเอียดพบว่ามีอาการ ขาโก่ง (bow legs) และเมื่อมองด้านข้างจะเห็นว่าขาโก่งไปด้านหลัง เข่าแอ่น(genu recurvatum)และในขณะเดียวกันก็พบว่ากระดูกต้นขาและกระดูกน่องบิดเป็นเกลียว(rotational deformity)ร่วมด้วยในเวลาเดียวกัน กล่าวก็คือ ในขาข้างหนึ่งอยู่ในสภาพที่ซับซ้อนพร้อมกับมีความผิดปกติถึง4ชนิด
หลังจากที่ทราบว่ากระดูกสะบ้าเคลื่อนซ้ำๆจึงได้ทำการตรวจสอบดูแล้วพบว่าตำแหน่งของกระดูกสะบ้าไม่ปกติ
ในตัวผู้ป่วยมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สะบ้าหลุดได้ง่าย จึงได้ว่างแผนผ่าตัดโดยการแก้ไขความผิดปกติของขาและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงไปด้วยพร้อมกัน
หลังจากผ่าตัดแก้ไขกระดูกขาด้านขวาแล้ว ไม่เพียงแต่ช่วยยืดกระดูกขาผู้ป่วยให้ตรงเท่านั้น กระดูกสะบ้าก็กลับเข้ามาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม อาการหัวเข่าที่ผู้ป่วยเคยกังวลก่อนหน้านี้ก็หายไป รู้สึกปลอดภัยขึ้นดังนั้นจึงตัดสินใจที่จะไม่ทำการผ่าตัดซ่อมเส้นเอ็น(ligament reconstruction)และอื่นๆ เพิ่มเติมอีก
หากดูจากรูปจะเห็นข้างที่แก้ไข (ลูกศร) กระดูกสะบ้า เข้ามาอยู่ในตำแหน่งเดิม
และยังทำการผ่าตัดแก้ไขเกี่ยวกับความผิดปกติ4ชนิดด้วยวิธีเดียวกันกับขาอีกข้าง ปัญหาขาโก่ง, เข่าแอ่นได้ถูกแก้ไข ทั้งหมด รวมถึงกระดูกสะบ้าก็กลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเดิมได้อย่างดี