Bowlegs
Dong Hoon Lee
ขารูปตัวโอ
(กระดูกหน้าแข้งโก่ง)
ขารูปตัวโอ(bowlegs) คืออาการขาที่มีลักษณะขณะยืนขาตรง เข่ามีลักษณะโค้งแยกออกจากกันคล้ายธนู
ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า ขาโก่ง (genu vara) โดยคำว่า varus หมายถึง ความผิดปกติที่เป็นมุมหักเข้าด้าน ในของร่างกายส่วนคำว่า genu หมายถึงหัวเข่า ดังนั้น ‘รูปขาที่มีลักษณะหัวเขายิ่งต่ำยิ่งทำให้ห่างออกจากจุดศูนย์ กลางของร่างกาย’
ลักษณะดังกล่าวส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บจากภายนอกหรือโรคต่างๆ เช่น โรคกระดูกอ่อน(ricket) ,กระดูกงอกจากกระดูกยาวหลายๆแห่งพร้อมกันโดยกรรมพันธุ์ (hereditary multiple exostosis) แต่ก็มีหลายกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ (หาสาเหตุไม่พบ,idiopathic)
หากมองจากมุมมองด้านสุขภาพกระดูก อาจคิดว่าภาวะที่หัวเข่าไม่ติดกันคือความผิดปกติทั้งหมด แต่จริงๆถึงจะมีภาวะขาโก่งเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นปกติ
แต่ ถึงจะปกติสำหรับ ในมุมมองด้านความงามอาจจะมองว่าไม่ปกติก็ได้
หากมองจากภายนอกอาจเห็นว่าอาการขาโก่งมีลัษณะคล้ายๆกัน แต่ตามความจริงแล้วมีหลายกรณีที่เกิดในตำแหน่งที่แตกต่างกัน และต่างชนิดกัน
ดังนั้นการเลือกวิธีรักษาให้แหมาะกับกับสาเหตุและสภาพการเกิดภาวะขาโก่งที่หลากหลายจึงเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ
มาก
ยกตัวอย่าง กรณีที่รักษาโดยการผ่าตัดแบบเปิดกระดูกหน้าแข้งแบบง่าย หรือกระดูกต้นขาเปลี่ยนรูปแต่ผ่า ตัดรักษาแบบเปิดกระดูกน่อง หากผ่าตัดรักษาไม่ถูกหลังผ่าตัดอาจดูเหมือนกระดูกเข่าจะติดแต่ความจริงแล้ว
อาจส่งผลให้เกิดการผิดปกติอื่นได้
กล่าวคือ การผ่าตัดรักษภาวะขาโก่ง(ขารูปตัวโอ) ไม่ใช่การผ่าตัดต่อหัวเข่าที่ง่ายๆ
ต้องหาปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะขาโก่งให้เจอก่อนทำการรักษา จึงจะได้เรียวขาที่แข็งแรงและสวยงาม
ตัวอย่างเคสผ่าตัด
แก้ไขมุมน่องผิดปกติกรณีมุมน่องผิดปกติเพียงอย่างเดียว
แก้ใขกระดูกน่องหมุนผิดปกติกกรณีเป็นโรคกระดูกหมุนผิดปกติเพียงอย่างเดียว
แก้ไขควบคู่กันหากมีความผิดปกติทั้งมุมและการหมุน
วิธีการผ่าตัด
แก้ไขการหมุน/มุม ควบคู่กัน
Simultaneous Angular and Derotational Osteotomy
ลักษณะพิเศษ
- 1เป็นการผ่าตัดแก้ไขกระดูกหมุนผิดรูปและ มุมผิดรูปพร้อมกัน(เป็นวิธีผ่าตัดที่คิดค้นโดย ดร.ลีดงฮุน)
- 2เป็นการผ่าตัดโดยการตรึงจากภายใน (ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตรึงภายนอก)
- 3รุกล้ำและกรีดให้น้อยที่สุด /เย็บให้สวยงาม
- 4หลังผ่าตัดไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยค้ำหรือใส่เฝือก
- 5หลังผ่าตัด 4-6 อาทิตย์ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้
ในบรรดาคนไข้ที่เข้ารับการรักษาด้วยปัญหาขาโก่ง บ่อยครั้งจะมีภาวะมุมผิดปกติ และหมุนผิดปกติร่วมด้วย
กรณีดังกล่าว หากแก้ไขที่มุมเพียงอย่างเดียว (วิธีผ่าตัดกระดูกแบบเปิด)อาจทำให้หัวเข่าชิดกันแต่ภาพ รวมของขาอาจจะดูแปลกๆได้
‘การผ่าตัดกระดูก(SADOพร้อมกับการหมุนมุมควบคู่กัน)’ การแก้ไขทั้งกระดูกหมุนผิดปกติและมุมผิดปกติควบคู่กัน โดยวิธีการผ่าตัดที่ ผู้อำนวยการลีดงฮุนคิดค้น
เป็นการผ่าตัดครั้งเดียว แก้ไขทั้งมุมผิดปกติและหมุนปกติอย่างถี่ถ้วนทำให้ได้ขาที่แข็งแรงและสวยงามตามอุดมคติ
ไมเพียงแค่การผ่าตัดแก้ไขมุมการหมุนสองอย่างในเวลาเดียวกันเท่านั้นแต่ยังแก้ไขปัญหาของวิธีการผ่าตัดกระดูกบริเวณหน้าแข้งแบบเปิดวิธีเดิม และแก้ไข การเปลี่ยนมุมเอียงกระดูกหน้าแข้ง เปลี่ยนตำแหน่ง ต้นขา-ข้อต่อสะบ้าเป็นต้น
เป็นการผ่าตัดตรึงจากภายใน และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ยึดตรึงภายนอกร่างกาย
หลังผ่าตัด 2-3 วันเป็นต้นไป สามารถลุกและฝึกเดินได้ หลังผ่าประมาณ 4-6 อาทิตย์สามารถทำกิจกรรมเบาๆ และหลังผ่าประมาณ 3-4 เดือนโดยเฉลี่ยสามารถฝึกซ้อมออกกำลังกายได้
หลังผ่าตัดไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ค้ำหรือใส่เฝือก
เนื่องจากใช้วิธีกรีดให้น้อยที่สุดจึงทำให้รอยแผลเป็นเล็ก (minimal incision) รอยเย็บสวยงาม
การแก้ไขทั้งกระดูกหมุนผิดปกติและมุมผิดปกติควบคู่กัน เนื่องจากมีปัญหาทั้งสองอย่าง
การแก้ไขทั้งกระดูกหมุนผิดปกติและมุมผิดปกติควบคู่กัน เนื่องจากมีปัญหาทั้งสองอย่าง
วิธีการผ่าตัดบริเวณหน้าแข้งแบบเปิด โดยการรุกล้ำให้น้อยที่สุด
Minimally Invasive Open Wedge High Tibial Osteotomy
ลักษณะเด่น
- 1เป็นวิธีการผ่าตัดที่ยกระดับการผ่าตัดกระดูกแบบเก่าของ ดร.ลีดงฮุน ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก (CORR)
และได้รับการแนะนำว่าเป็นเทคนิกการผ่าตัด (Emerging Surgical Technique) โดยสมาคมการปรับโครงสร้างแขนและขาในอเมริกาเหนือ(Limb Lengthening Reconstruction Society) - 2รุกล้ำหรือกรีดให้น้อยที่สุด / รอยเย็บสวยงาม
- 3หลังผ่าตัดไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหรือใส่เฝือก
- 4หลังผ่าตัดเฉลี่ย 4-6 อาทิตย์ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้
เป็นวีธีการผ่าตัดแบบเปิดที่นิยมใช้บ่อยที่สุดกับการผ่าตัดรักษาขาโก่ง (ขารูปตัวโอ) เป็นวิธีที่ใช้แก้ไขได้เฉพาะมุม ผิดปกติเท่านั้น
ข้อเสียของการผ่าตัดกระดูกแบบเปิดด้วยวิธีเดิมคือ
ข้อแรก กระดูกหน้าแข้งอาจเกิดการเอียงเพิ่มมากขึ้น (tibial slope) จนอาจทำให้เอ็นไขว้หน้ารับภาระหนักในระยะยาว
ข้อสอง อาจส่งผลเสียระยะยาวกับกระดูกเข่าบริเวณต้นขา-ข้อต่อกระดูกสะบ้า (patella-femoral joint) ซึ่งเป็นหนึ่ง ในโรคข้อต่อหัวเข่า
‘การผ่าตัดกระดูกด้วยวิธี รุกล้ำให้น้อยที่สุด แบบเปิด’ (FADT-HTO, fixator assisted, distal to tubercle- high tibial osteotomy) ที่คิดค้นโดยดร.ลีดงฮุน เป็นวิธีผ่าตัดที่ยอดเยี่ยม ช่วยรักษาระดับมุมเอียงของกระดูกหน้าแข้งให้อยู่คงเดิม และป้องกันไม่ให้มีผลกระทบต่อข้อต่อเข่าได้อย่างดีเยี่ยม
การผ่าตัดรักษาภาวะขาโก่งด้วยวิธีการผ่าตัดแก้ไขแบบเปิด
การผ่าตัดรักษาภาวะขาโก่งด้วยวิธีการผ่าตัดแก้ไขแบบเปิด
การผ่าตัดตรึงจากภายนอกด้วยคอมพิวเตอร์
Computer Assisted External Fixator System (Ortho-SUV, Hexapod)
ลักษณะเด่น
- 1สามารถแก้ไขการเปลี่ยนรูปอย่างรุนแรงและซับซ้อนได้
- 2ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แก้ไขได้อย่างแม่นยำ
- 3ใช้สกรูปักภายนอกน้อยที่สุด
- 4หลังผ่าตัด 4 อาทิตย์ สามารถลดการใช้อุปกรณ์ตรึงจากภายนอก และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้
- 5สำหรับการผ่าตัดแก้ไขแบบตรึงภายในอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดซ้ำเพื่อนำเอาโลหะออก แต่กรณีแก้ไขโดยการยึดตรึงภายนอกไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อนำเอาโลหะออก
ข้อเสีย
- 1จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกจากภายนอกจนกว่ากระดูกจะเชื่อมเข้าหากัน (ประมาณ 3-5 เดือน)
- 2อาจเกิดรอยแผลเป็นจากสกรูที่ปักภายนอกได้
การผ่าตัดแก้ไขโดยการยึดตรึงภายนอกด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีที่แก้ไขความผิดปกติที่ซับซ้อนทั้งหมดในคราวเดียวได้
สำหรับวัตถุประสงค์ของความสวยงามแล้วในการแก้ไขจะไม่ค่อยนิยมใช้วิธียึดตรึงอุปกรณ์ภายนอกแต่ อาจเป็นวิธีการรักษาที่เป็นประโยชน์หรับผู้ป่วยบางราย
ดร.ลีดงฮุนทำการนำเข้า Ortho SUV ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยึดตรึงภายนอกโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งก้าวข้ามวิธีผ่าตัดด้วย Ilizarov แบบเก่า พร้อมทั้งให้การอบรมกับแพทย์เกี่ยวกับระบบดังกล่าว
การผ่าตัดแก้ไขขาผิดรูปโดยการใช้อุปกรณ์ยึดตรึงจากภายนอก
การแก้ไขขาโก่งเพื่อเสริมความงาม
การผ่าตัดรักษากระดูกหน้าแข้งโก่ง